FAQ คำถามจากประชาชน

เป็นหน้าที่ที่กระทรวงพลังงานที่จะต้องผลักดันอยู่แล้วเพื่อให้มีเชื้อเพลิงใช้อย่างต่อเนื่องและราคาที่เป็นธรรม แต่ขึ้นกับการตัดสินใจของผู้ลงทุนด้วย การลงทุนเชิงพาณิชย์ต้องใช้เงินลงทุนสูงประกอบกับผลผลิตวัตถุดิบยังไม่มากพอคงจะต้องรอเวลาระยะหนึ่งแต่ปัจจุบันก็มีโรงงานขนาดใหญ่เกิดขึ้นแล้วหลายแห่ง ขณะเดียวกันเราก็มุ่งเน้นให้ชุมชนช่วยเหลือตัวเองได้ในระดับหนึ่ง

มันสัมปะหลังสามารถนำไปผลิตเป็นเอทานอลผสมกับน้ำมันเบนซินเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ เหง้ามันมีค่าความร้อนสูงใช้เผาในเตาระบบเผาผลิตก๊าซเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้าได้ ถ้ามีเครื่องมืออุปกรณ์วัตถุดิบพร้อมก็สามารถผลิตใช้เองได้

เหตุผลสำคัญที่ทำให้ราคาหน้าปั๊มของแก๊สปิโตรเลียมเหลว (LPG) ถูกกว่า มาจากต้นทุนที่ต่ำกว่าทั้งในส่วนของราคาที่ซื้อจากโรงกลั่นและภาษี ตลอดจนการมีเงินชดเชยจากรัฐด้วย

ผ่านมาภาครัฐมีนโยบายควบคุมราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ทำให้ภาคครัวเรือน ขนส่ง รวมถึงอุตสาหกรรม ได้ใช้ LPG ในราคาถูกมาเป็นเวลานาน โดยนำเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งเรียกเก็บจากผู้ใช้น้ำมันทุกคนในประเทศ มาใช้ในการอุดหนุนราคาคิดเป็นมูลค่ากว่าแสนล้านบาท ดังนั้น ในสถานการณ์ราคาพลังงานปัจจุบันจึงมีความจำเป็นที่ต้องปรับราคา LPG ด้วยเหตุผลสำคัญ คือ – ด้านความเป็นธรรม : เพื่อเกิดความเป็นธรรมต่อผู้ใช้น้ำมัน ไม่ต้องถูกเก็บค่าน้ำมันแพงเพื่อไปอุดหนุนผู้ใช้ก๊าซ LPG ให้ได้ใช้ในราคาถูก – ด้านลดภาระกองทุนน้ำมันฯ : การควบคุมราคา LPG ทำให้เกิดการบิดเบือนกลไกตลาด มีผลทำให้ราคา LPG ต่ำกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น ทำให้การใช้ LPG ขยายตัวมาก ส่งผลต่อกองทุนน้ำมันฯ มีภาระเพิ่มมากขึ้น – ด้านป้องกันการลักลอบส่งออก : การควบคุมราคา LPG ทำให้รัฐต้องนำเงินกองทุนน้ำมันฯ ที่เก็บจากผู้ใช้น้ำมันคนไทยไปชดเชยให้กับประเทศเพื่อนบ้านด้วย เพราะปัจจุบันราคา LPG ประเทศเพื่อนบ้านสูงกว่าไทยทุกประเทศ โดยจะเห็นได้จากราคาก๊าซหุงต้มในเวียดนาม 59 บาท/กก. ลาว 49 บาท/กก. กัมพูชา 45 บาท/กก. พม่า 34 บาท/กก. มาเลเซีย 20 บาท/กก. อินโดนีเซีย 23 บาท/กก. ขณะที่ประเทศไทยปัจจุบันราคาอยู่ที่ 18.13 บาท/กก.