กฎหมาย/พรบ. ด้านพลังงาน

– เรื่อง ยกเลิกการขอสำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านจากประชาชนที่มาติดต่อราชการ

– ระเบียบกระทรวงพลังงานว่าด้วยงบประมาณ พ.ศ.2559 และ คู่มือการดำเนินงานด้านงบประมาณของกระทรวงพลังงาน

– ผ่อนผันมาตรการประหยัดพลังงาน (ฉบับที่ ๑) พ.ศ. ๒๕๔๗

การประกอบกิจการไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน หรือพลังงานความร้อนและไฟฟ้าร่วมกันขนาดไม่เกิน ๑๐ เมกะวัตต์nหลักเกณฑ์และมาตรฐานความปลอดภัยของสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติที่กรมธุรกิจพลังงานรับผิดชอบ พ.ศ. ๒๕๕๐ แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการค้านํ้ามันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ – พ.ศ. ๒๕๔๙

 

– กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน พ.ศ. 2556 (ประกาศ ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 130 ตอน 56 ก)
– กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน พ.ศ. 2556 (ประกาศ ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 130 ตอน 56 ก)
– กฎกระทรวงกลาโหม กระทรวงเศรษฐการ และกระทรวงมหาดไทย ออกตามความในพระราชบัญญัติปันส่วนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2483 กฎกระทรวง (พ.ศ. 2524) ออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 28 ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2515

พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514

พระราชบัญญัตินี้กำหนดให้ปิโตรเลียมเป็นของรัฐ ผู้ใดสำรวจหรือผลิต ปิโตรเลียมต้องได้รับสัมปทาน ซึ่งผู้รับสัมปทานจะต้องเป็นบริษัทและมีทุน เครื่องมือ และผู้เชี่ยวชาญเพียงพอที่จะสำรวจ ผลิต ขาย และจำหน่าย ปิโตรเลียมได้ และเมื่อได้รับสัมปทานแล้วจะต้องปฎิบัติตามระเบียบ กฎเกณฑ์ รายละเอียดต่างๆในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมการ เก็บรักษาการขนส่ง และการจำหน่ายปิโตรเลียม

 

นอกจากนี้ พระราชบัญญัติยังกำหนดถึงประโยชน์ สิทธิและหน้าที่ของผู้รับ สัมปทานรวมทั้งข้อจำกัดสิทธิในการส่งปิโตรเลียมออกนอกราชอาณาจักรใน กรณีจำเป็นเกี่ยวกับความปลอดภัยของประเทศหรือเพื่อให้มีปิโตรเลียมเพียง พอกับความต้องการใช้ภายในราชอาณาจักรและเมื่อผู้รับสัมปทานดำเนินการ ผลิตแล้วจะต้องชำระค่าภาคหลวงเป็นตัวเงินหรือเป็นปิโตรเลียมตามมูลค่าของปิโตรเลียมที่ขายหรือจำหน่ายและชำระภาษีเงินได้ปิโตรเลียมในอัตราที่ กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาสำหรับบทลงโทษนั้น ได้กำหนดโทษปรับและ โทษจำคุก รวมทั้งการเพิกถอนสัมปทาน เมื่อผู้รับสัมปทานไม่ปฎิบัติตามบท บัญญัติของกฎหมายและข้อกำหนดในสัมปทานด้วย

 

พระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย – มาเลเซีย พ.ศ. 2533

พระราชบัญญัตินี้ได้ตราขึ้นสืบเนื่องจากได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักรไทยและมาเลเซีย เกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเล ในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของประเทศทั้งสองในอ่าวไทย เมื่อวันที่ 21กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 และต่อมาได้มีการลงนามในความตกลงว่าด้วยธรรมนูญและเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดตั้งองค์กรร่วมไทย-มาเลเซียระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งมาเลเซีย เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 ซึ่งตามความตกลงดังกล่าวมีข้อกำหนดด้วยว่าทั้งสองประเทศจะต้องออก กฎหมายอนุวัตรการก่อตั้งองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย โดยมีสาระสำคัญเหมือนกันและประกาศใช้บังคับพร้อมกันด้วย

 

พระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้องค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย เป็นนิติบุคคลและมีภูมิ-ลำเนาในราชอาณาจักรไทยและมาเลเซีย โดยให้มีสิทธิในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่มีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งปิโตรเลียมในพื้นที่พัฒนาร่วม สำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นและผลประโยชน์ที่ได้รับจากการประกอบกิจการ รัฐบาลทั้งสองจะรับภาระและแบ่งปันเท่าๆ กัน โดยในการดำเนินการสำรวจและแสวงประโยชน์ข้างต้น องค์กรร่วมโดยความเห็นชอบของรัฐบาลทั้งสองสามารถทำสัญญากับบุคคลอื่นเพื่อให้สิทธิในการดำเนินกิจการดังกล่าว โดยผู้ได้รับสัญญาจะต้องชำระค่าภาคหลวงจำนวนร้อยละสิบของ ผลผลิตรวมของปิโตรเลียมให้แก่องค์กรร่วม โดยผู้ได้รับสัญญามีสิทธิหักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกินร้อยละ 50 ผลผลิตที่เหลือจะแบ่งให้แก่องค์กรร่วมและผู้ได้รับสัญญาฝ่ายละเท่าๆกัน นอกจากนี้พระราชบัญญัติดังกล่าวยังกำหนดเกี่ยวกับจำนวนเงินขั้นต่ำที่ผู้ได้รับสัญญาจะต้องใช้จ่ายในการประกอบกิจการปิโตรเลียมตามสัญญาเงินบำรุงการวิจัยให้แก่องค์กรร่วมการระงับข้อพิพาท โดยอนุญาโตตุลาการ การออกกฎกระทรวงและเขตอำนาจทางแพ่งและทางอาญาของราชอาณาจักรไทยและมาเลเซีย ซึ่งไม่รวมถึงเขตอำนาจในเรื่องที่เกี่ยวกับศุลกากรสรรพสามิตและภาษีอากร

 

พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับสถานที่ผลิตปิโตรเลียมในทะเล พ.ศ. 2530

พระราชบัญญัตินี้กำหนดให้สถานที่ผลิตปิโตรเลียมในทะเลและเขตปลอดภัยให้ถือว่าอยู่ในราชอาณาจักร และการกระทำความผิดตามกฎหมายไทยที่เกิดขึ้นบนเหนือหรือใต้สถานที่ผลิตปิโตรเลียม ในทะเลหรือในเขตปลอดภัยให้ถือว่าได้กระทำการในราชอาณาจักร โดยให้รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดหรือยกเลิก เขตที่ตั้งและเขตปลอดภัยของสถานที่ผลิตปิโตรเลียมในทะเลรวมทั้งกำหนดหรือยกเลิกเขตท่อรวมทั้งอุปกรณ์ของท่อที่ใช้ในกระบวนการผลิตปิโตรเลียม ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างสถานที่ผลิตปิโตรเลียมในทะเลที่อยู่นอกเขตปลอดภัย เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทหารเรือไทยมีอำนาจสืบสวนสอบสวนเบื้องต้นเพื่อป้องกันและระงับการกระทำที่ เป็นการก่อวินาศกรรมสถานที่ผลิตปิโตรเลียมในทะเลในเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีป

 

นอกจากนี้ พระราชบัญญัติดังกล่าวยังกำหนดรายละเอียดขั้นตอนต่างๆ เพื่อความจำเป็นในการปฏิบัติ เช่น การตรวจและค้นเรือหรืออากาศยาน การสอบสวนและควบคุมเรือหรืออากาศยาน ผู้ควบคุม เรือหรืออากาศยานบุคคลในเรือหรืออากาศยาน เป็นต้น

 

รวมทั้งกำหนดให้การเดินเรือในเขตปลอดภัยต้องได้รับหนังสืออนุญาตจากอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเว้นแต่เป็นเรือของทางราชการเรือของผู้รับสัมปทาน หรือเรือของผู้รับจ้างเหมาของผู้รับสัมปทาน ประกาศของคณะปฎิวัติ ฉบับที่ 331 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ประกาศฉบับนี้ได้กำหนดขึ้นเพื่อสนับสนุนนโยบายที่จะให้เอกชนได้เข้ามาลงทุนหรือร่วมทุนกับกรมการพลังงานทหารกระทรวงกลาโหม ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียม เพื่อทำการสำรวจและผลิต ปิโตรเลียมในบริเวณพื้นที่ ซึ่งกรมการพลังงานทหาร กระทรวงกลาโหมได้รับมอบหมายให้ดำเนินการประกาศฯ ฉบับนี้กำหนดให้ผู้ลงทุนหรือร่วมทุนได้รับประโยชน์สิทธิตลอดจนมีหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ที่ได้รับสัมปทานตาม พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ. ศ. 2514.

พระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 ( สรุปมาตราสำคัญ )
พระราชบัญญัตินี้ได้กำหนดควบคุมผู้ค้าน้ำมันเป็น 3 ระดับ ดังนี้

1.ผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ ซึ่งมีปริมาณการค้าน้ำมันแต่ละชนิดหรือรวมกันทุกชนิด ปีละตั้งแต่ 100,000 เมตริกตันขึ้นไป หรือก๊าซปิโตรเลียมเหลว แต่เพียงชนิดเดียว ปีละตั้งแต่ 50,000 เมตริกตันขึ้นไป จะต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

2.ผู้ค้าน้ำมันรายย่อยซึ่งมีปริมาณการค้าน้ำมันปีละไม่ถึงตาม (1)ข้างต้นแต่มีปริมาณการค้าน้ำมันแต่ละชนิดหรือรวมกันทุกชนิดเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดหรือมีถังที่สามารถเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงได้เกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดจะต้องยื่นขอจดทะเบียนต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน

3.ผู้ค้าน้ำมันซึ่งดำเนินกิจการค้าน้ำมันโดยจัดตั้งสถานีบริการ จะต้องยื่นขอจดทะเบียนต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน

พระราชบัญญัติยังกำหนดให้ผู้ขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงตามขนาดและปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดต้องแจ้งต่ออธิบดีตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายใน 60 วัน นับแต่วันประกาศดังกล่าวใช้บังคับและให้ผู้ขนส่งน้ำมันนั้นและผู้ค้าน้ำมันข้างต้นมีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปี ในกรณีของผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ให้ดำเนินการจัดทำบัญชีเกี่ยวกับปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรจัดทำแผนปฎิบัติการเกี่ยวกับการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซื้อ กลั่นผลิต หรือจำหน่าย ซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิง ยื่นปริมาณการค้าประจำปีเพื่อขอความเห็นชอบ ต่ออธิบดีก่อนปีที่จะทำการค้านั้น และสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงไม่เกินร้อยละสามสิบของปริมาณการค้าประจำปี นอกจากนี้กฎหมายยังให้อำนาจอธิบดีกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งจะทำการจำหน่าย และมาตรการในการตรวจสอบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวผู้ค้าน้ำมันรายใดจำหน่ายน้ำมันที่มีลักษณะและคุณภาพแตกต่างไปจากที่กำหนดหรือไม่ ปฎิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายหรือเงื่อนไขที่รัฐมนตรีหรืออธิบดีกำหนดจะถูกเพิกถอนใบอนุญาต จำคุกหรือปรับแล้วแต่กรณี

พระราชบัญญัติการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ( สรุปมาตราสำคัญ )

พระราชบัญญัตินี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันหรือระงับเหตุเดือดร้อนรำคาญ หรือความเสียหาย หรืออันตรายที่จะมีผลกระทบต่อบุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อมและเพื่อกำหนดมาตรการหรือลักษณะการดำเนินการเกี่ยวกับการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม โดยให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดการเก็บรักษา การขนส่ง การใช้ การจำหน่าย และการบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงกำหนดที่ตั้ง แผนผังและรูปแบบของสถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง และคลังน้ำมันเชื้อเพลิง กำหนดลักษณะของถังหรือภาชนะที่ใช้ในการบรรจุหรือขนส่ง กำหนดประเภทกิจการควบคุมของการมีน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ในครอบครอง สถานีบริการและคลังน้ำมันเชื้อเพลิง และการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงให้สอดคล้องกับระดับอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งได้แก่กิจการที่สามารถประกอบได้ทันที กิจการที่ต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อน และกิจการที่ต้องได้รับใบอนุญาตก่อน นอกจากนี้ กฎหมายได้มีบทบัญญัติที่ให้อำนาจคณะรัฐมนตรีในการอนุมัติให้หน่วยงาน ของรัฐหรือเอกชน รายใดเป็นผู้ดำเนินการในการจัดให้มีคลังน้ำมันเชื้อเพลิง และระบบการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อได้ และบทบัญญัติในเรื่องของการกำหนดรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการใช้สอยและครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลใดๆ การประกาศกำหนดเขตระบบการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อ และการควบคุมตรวจสอบการประกอบกิจการการเก็บรักษาและการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง โดยคำนึงถึงความปลอดภัย และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสภาพเศรษฐกิจและสังคม

พระราชบัญญัติปันส่วนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2483

เป็นกฎหมายที่กำหนดให้แบ่งปันน้ำมันเชื้อเพลิงกัน เพื่อให้มีน้ำมันเชื้อเพลิงใช้กันได้โดยทั่วไปในประเทศ โดยการจัดตั้งคณะกรรมการปันส่วนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ประกาศชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิงที่จะให้มีการปันส่วน ทำการสอบสวนเพื่อทราบปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิด กำหนดอัตราปันส่วนน้ำมันเชื้อเพลิง ควบคุมการซื้อขายตลอดทั้งวางระเบียบการอนุญาต ซื้อขายให้เป็นไปตามความประสงค์ของพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัตส่งเสริมกิจการไฟฟ้า พ.ศ. 2484

พระราชบัญญัตินี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมกิจการไฟฟ้า และอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยแก่ประชาชน พระราชบัญญัติได้กำหนดรายละเอียดขั้นตอนในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ประกอบกิจการไฟฟ้าในการขึงหรือฝังสายไฟฟ้าไปใต้ เหนือ ตามหรือข้ามและปักหรือตั้งเสาไฟฟ้าลงใน หรือบนพื้นดินของบุคคลใดๆ และเมื่อได้มีการดำเนินการดังกล่าวแล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดถอน ย้าย เปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือกระทำการใดๆ ให้เกิดความเสียหายแก่สายไฟฟ้าหรือเสาไฟฟ้า หรือให้การส่งกระแสไฟฟ้าตามสายไฟฟ้าติดขัดไม่สะดวก

ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 28 ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2514

ประกาศ ฯ ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการบรรจุก๊าซ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงน่ากลัว อันตราย โดยให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการขออนุญาต การออกใบอนุญาต ขนาดส่วนบรรจุ วิธีการบรรจุในภาชนะ สถานที่บรรจุหรือเก็บ และวิธีการทดสอบและตรวจสอบภาชนะที่ใช้บรรจุ ตลอดจนอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานและบทกำหนดโทษต่อผู้ที่กระทำการฝ่าฝืน

ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ลงวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2515

ประกาศฯ นี้กำหนดให้กิจการเกี่ยวกับการรถไฟ การเดินอากาศ การประปา การชลประทาน การไฟฟ้า การผลิตเพื่อจำหน่ายหรือการจำหน่ายก๊าซโดยระบบเส้นต่อไปยังอาคารต่างๆ เป็นต้น เป็นกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภคซึ่งผู้ประกอบกิจการจะต้องได้รับอนุญาตหรือได้รับสัมปทานจากรัฐมนตรี นอกจากนี้ประกาศ ฯ ดังกล่าวยังกำหนดกิจการอื่นตามที่รัฐมนตรีจะประกาศกำหนด เช่น การประกันภัย การธนาคาร และเครดิตฟองซิเอร์ เป็นต้น เป็นกิจการที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินกิจการนั้นๆ

พระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516

พระราชกำหนดนี้ได้ตราขึ้นเนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกทวีสูงขึ้นเป็นลำดับและน้ำมันดิบที่จะหาซื้อได้มีปริมาณลดลง ทำให้เกิดภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้นในประเทศไทย จึงจำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขและป้องกันภาวะการณ์ดังกล่าวให้ทันต่อเหตุการณ์ โดยกำหนด ให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจออกคำสั่งเพื่อกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่าย การสำรองและการส่งออกนอกราชอาณาจักรและการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิด การผลิตหรือจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานอื่น การใช้น้ำมัน เชื้อเพลิงพลังงานไฟฟ้าหรือพลังงาน และการปันส่วนน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิด

พระราชบัญญัติการพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน พ.ศ. 2535

พระราชบัญญัตินี้กำหนดอำนาจหน้าที่ของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน (กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานในปัจจุบัน) ในด้านการสำรวจ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และตรวจสอบเกี่ยวกับพลังงานในแง่ของแหล่งพลังงาน การกำกับดูแล ปฏิบัติการ และกำหนดระเบียบและมาตรฐานเกี่ยวกับการผลิตการส่งและการจำหน่ายพลังงาน และการเปลี่ยนประเภทของวัตถุดิบหรือวัตถุธรรมชาติที่ใช้ในการผลิตพลังงานโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศ นอกจากนี้ พระราชบัญญัติยังกำหนดรายละเอียดและขั้นตอนในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ซึ่งกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานอาจมอบให้หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ปฏิบัติการแทนได้ กำหนดให้มีการออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อกำหนดให้พลังงานไฟฟ้าซึ่งขนาดการผลิตรวมของแต่ละแหล่งผลิต ตั้งแต่ 200 กิโลโวลต์แอมแปร์ ขึ้นไปเป็นพลังงานควบคุม โดยผู้ผลิตหรือการขยายการผลิตพลังงานควบคุมจะต้องได้รับใบอนุญาต และกำหนดห้ามการกระทำใดๆ อันเป็นการขัดขวางต่อการผลิตพลังงานควบคุม หรือทำให้การผลิตพลังงานควบคุมน้อยลงโดยไม่มีเหตุอันควร ซึ่งผู้กระทำผิดต้องระวางโทษทั้งจำและปรับ
พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535

พระราชบัญญัติได้กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติขึ้น เพื่อเป็นผู้ดูแลและรับผิดชอบในเรื่องเกี่ยวกับนโยบายอนุรักษ์พลังงาน เป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน การตรวจสอบและวิเคราะห์การอนุรักษ์พลังงาน และวิธีปฎิบัติในการอนุรักษ์พลังงาน นอกจากนี้ พระราชบัญญัตินี้มีข้อกำหนดเกี่ยวกับระดับการใช้พลังงานในเครื่องจักรและอุปกรณ์ในสถานที่ต่างๆ เช่น อาคาร โรงงาน เป็นต้น การให้เจ้าของโรงงานควบคุมตามพระราชกฤษฎีกาต้องอนุรักษ์พลังงาน และตรวจสอบ และวิเคราะห์การใช้พลังงานของตนให้เป็นไปตามมาตรฐาน หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง การส่งข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตการใช้และการอนุรักษ์พลังงาน และการ จดบันทึกข้อมูลการใช้พลังงาน ในการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว พระราชบัญญัติได้กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในกระทรวงการคลังเพื่อให้เป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่าย ช่วยเหลือหรืออุดหนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานการป้องกัน และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการใช้พลังงานการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาพลังงาน การกำหนดมาตรการเพื่อส่งเสริมการผลิตเครื่องจักรอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงหรือวัสดุเพื่อใช้ในการอนุรักษ์พลังงาน โดยให้เจ้าของโรงงานควบคุมจัดส่งเงินเข้ากองทุนตามอัตราที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติกำหนด ซึ่งการไม่ส่งเงินเข้ากองทุนหรือส่งเงินไม่ครบจะมีโทษทั้งจำและปรับ พระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้องค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย เป็นนิติบุคคลและมีภูมิ-ลำเนา ในราชอาณาจักรไทยและมาเลเซีย โดยให้มีสิทธิในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ที่ไม่มีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งปิโตรเลียมในพื้นที่พัฒนาร่วม สำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นและผลประโยชน์ที่ ได้รับจากการประกอบกิจการ รัฐบาลทั้งสองจะรับภาระและแบ่งปันเท่าๆ กัน โดยในการดำเนินการสำรวจ และแสวงประโยชน์ข้างต้น องค์กรร่วมโดยความเห็นชอบของรัฐบาลทั้งสองสามารถทำสัญญากับบุคคลอื่น เพื่อให้สิทธิในการดำเนินกิจการดังกล่าว โดยผู้ได้รับสัญญาจะต้องชำระค่าภาคหลวงจำนวนร้อยละสิบของ ผลผลิตรวมของปิโตรเลียมให้แก่องค์กรร่วม โดยผู้ได้รับสัญญามีสิทธิหักค่าใช้จ่ายได้ ไม่เกินร้อยละห้าสิบ ผลผลิตที่เหลือจะแบ่งให้แก่องค์กรร่วมและผู้ได้รับสัญญาฝ่ายละเท่าๆ กัน

นอกจากนี้ พระราชบัญญัติดังกล่าวยังกำหนดเกี่ยวกับจำนวนเงินขั้นต่ำที่ผู้ได้รับสัญญาจะต้อง ใช้จ่ายในการประกอบกิจการปิโตรเลียมตามสัญญา เงินบำรุงการวิจัยให้แก่องค์กรร่วม การระงับข้อพิพาท โดยอนุญาโตตุลาการ การออกกฎกระทรวงและเขตอำนาจทางแพ่งและทางอาญาของราชอาณาจักรไทยและ มาเลเซียซึ่งไม่รวมถึงเขตอำนาจในเรื่องที่เกี่ยวกับศุลกากรสรรพสามิต และภาษีอากร พระราชกฤษฎีกากำหนดพลังงานควบคุม พ.ศ. 2497

พระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. 2535

พระราชบัญญัตินี้กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นรองประธานกรรมการรัฐมนตรีกระทรวงที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ และเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเป็นกรรมการ เลขานุการคณะกรรมการดังกล่าว มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาเสนอนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาพลังงาน การติดตามดูแล ประสานและเร่งรัดการดำเนินการของหน่วยงานต่างๆ ที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับพลังงาน รวมทั้งการประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศ

พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535

พระราชบัญญัติได้กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติขึ้น เพื่อเป็นผู้ดูแลและรับผิดชอบในเรื่องเกี่ยวกับนโยบายอนุรักษ์พลังงาน เป้าหมาย และแผนอนุรักษ์พลังงาน การตรวจสอบและวิเคราะห์การอนุรักษ์พลังงาน และวิธีปฎิบัติในการอนุรักษ์พลังงาน นอกจากนี้ พระราชบัญญัตินี้มีข้อกำหนดเกี่ยวกับระดับการใช้พลังงานในเครื่องจักรและอุปกรณ์ในสถานที่ต่างๆ เช่น อาคาร โรงงาน เป็นต้น การให้เจ้าของโรงงานควบคุมตามพระราชกฤษฎีกาต้องอนุรักษ์พลังงาน ตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานของตนให้เป็นไปตามมาตรฐานหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง การส่งข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตการใช้และการอนุรักษ์พลังงาน และการ จดบันทึกข้อมูลการใช้พลังงาน ในการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว พระราชบัญญัติได้กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในกระทรวงการคลัง เพื่อให้เป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่ายช่วยเหลือ หรืออุดหนุน การดำเนินงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการใช้พลังงานการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาพลังงานการกำหนดมาตรการเพื่อส่งเสริมการผลิตเครื่องจักรอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงหรือวัสดุ เพื่อใช้ในการอนุรักษ์พลังงานโดยให้เจ้าของโรงงานควบคุมจัดส่งเงินเข้ากองทุนตามอัตราที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติกำหนด ซึ่งการไม่ส่งเงินเข้ากองทุนหรือส่งเงินไม่ครบจะมีโทษทั้งจำและปรับ

พระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516

พระราชกำหนดนี้ได้ตราขึ้นเนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกทวีสูงขึ้นเป็นลำดับและน้ำมันดิบที่จะหาซื้อได้มีปริมาณลดลง ทำให้เกิดภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้นในประเทศไทย จึงจำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขและป้องกันภาวะการณ์ดังกล่าวให้ทันต่อเหตุการณ์ โดยกำหนดให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจออกคำสั่งเพื่อกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่าย การสำรองและการส่งออกนอกราชอาณาจักรและการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิด การผลิตหรือจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานอื่น การใช้น้ำมัน เชื้อเพลิงพลังงานไฟฟ้าหรือพลังงาน และการปันส่วนน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิด พระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. 2535

พระราชบัญญัติปันส่วนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2483

รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอิสระ พระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 พระราชบัญญัตินี้กำหนดให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นนิติบุคคลและเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ผู้ใช้พลังงานไฟฟ้าตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาและประเทศใกล้เคียง รวมทั้งดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับ พลังงานไฟฟ้า ผลิตและขายลิกไนท์หรือวัตถุเคมีจากลิกไนท์ หรือร่วมทุนกับบุคคลอื่นเพื่อดำเนินธุรกิจดังกล่าว ในการปฎิบัติการดังกล่าว กฟผ. มีอำนาจใช้สอยและครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลอื่น เพื่อสำรวจหาแหล่งพลังงานและจัดหาสถานที่สำหรับใช้ในการผลิตหรือพัฒนาพลังงานไฟฟ้า ซึ่งในการนี้ กฟผ.จะต้องชดใช้ค่าทดแทนที่เป็นธรรม และในกรณีที่มีข้อโต้แย้งหรือตกลงกันไม่ได้ กฟผ. สามารถนำเงินค่าทดแทนไปวางไว้ต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์ได้นอกจากนี้พระราชบัญญัติยังกำหนดให้ กฟผ. มีอำนาจกำหนดเงื่อนไขที่เกี่ยวกับคุณภาพไฟฟ้า และเทคนิคทางวิศวกรรม และความปลอดภัยของระบบไฟฟ้า ในกรณีที่เอกชนประสงค์จะเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าของ กฟผ. การไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

พระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501

พระราชบัญญัตินี้ให้อำนาจการไฟฟ้านครหลวงในการจัดให้ได้มาและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า และการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่อง หรือที่เป็นประโยชน์แก่การไฟฟ้านครหลวงภายในเขตกรุงเทพฯและจังหวัดใกล้เคียง โดยในการดำเนินกิจการดังกล่าว พนักงานการไฟฟ้านครหลวงมีอำนาจที่จะใช้สอยหรือเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ในความครอบครองของบุคคลใดๆ เพื่อประโยชน์ในการสร้างและบำรุงรักษาซึ่งระบบการส่งพลังงานไฟฟ้า การป้องกันอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดแก่ระบบการส่งพลังงานไฟฟ้า นอกจากนี้ กฎหมายยังกำหนดอำนาจหน้าที่และคุณสมบัติของคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงและผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง รายละเอียดขั้นตอนการปฎิบัติหน้าที่ และบทกำหนดโทษของพนักงานการไฟฟ้านครหลวงหรือบุคคลใด โดยคำนึงถึงประโยชน์แห่งความปลอดภัยและเป็นธรรมต่อรัฐและประชาชน รวมทั้งการกำหนดกิจการใดของการไฟฟ้านครหลวงที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนจึงจะดำเนินการได้ เช่น การเพิ่มหรือลดทุน การกู้ยืมเงิน เป็นต้น พระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503 พระราชบัญญัตินี้ได้ตราขึ้นเพื่อกำหนดอำนาจหน้าที่ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในการผลิต จัดให้ได้มา จัดส่งและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า และการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่อง หรือที่เป็นประโยชน์แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในเขตส่วนภูมิภาค ซึ่งอยู่นอกเขตท้องที่ที่การไฟฟ้านครหลวงดำเนินการโดยในการดำเนินกิจการดังกล่าว พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีอำนาจที่จะใช้สอยหรือเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ในความครอบครองของบุคคลใดๆ เพื่อประโยชน์ในการสร้างและบำรุงรักษาซึ่งระบบการส่งพลังงานไฟฟ้า การป้องกันอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดแก่ระบบการส่งพลังงานไฟฟ้า นอกจากนี้ กฎหมายยังกำหนดอำนาจหน้าที่และคุณสมบัติของคณะกรรมการการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาคและผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติหน้าที่ และบท กำหนดโทษของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหรือบุคคลใด โดยคำนึงถึงประโยชน์แห่งความปลอดภัยและเป็นธรรมต่อรัฐและประชาชน รวมทั้งการกำหนดกิจการใดของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนจึงจะดำเนินการได้ เช่น การเพิ่มหรือลดทุน การกู้ยืมเงิน เป็นต้น พระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2544 พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ได้ตราขึ้นเนื่องจากได้มีการจัดตั้งบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยเปลี่ยนทุนของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเป็นหุ้นตามกฎหมายว่าด้วยทุนรัฐวิสาหกิจ และให้โอนกิจการของการ ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยทั้งหมดไปให้แก่บริษัทดังกล่าว พระราชกฤษฎีกากำหนดให้ยกเลิกพระราชบัญญัติและพระราชกำหนดดังต่อไปนี้ ตั้งแต่วันที่ พ. ศ. 2544 เป็นต้นไป

พระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ. ศ. 2521

พระราชกำหนดการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ. ศ. 2523  พระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ( ฉบับที่ 2) พ. ศ. 2537 พระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2544 พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ได้ตราขึ้นเนื่องจากได้มีการจัดตั้ง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยเปลี่ยนทุนของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเป็นหุ้นตามกฎหมายว่าด้วยทุนรัฐวิสาหกิจ และให้โอนกิจการของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยทั้งหมดไปให้แก่บริษัทดังกล่าว และโดยคำนึงถึงความเป็นธรรม ในการแข่งขันทางธุรกิจและการรักษาประโยชน์ของรัฐประกอบด้วยแล้ว ในการดำเนินงานของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ระยะแรก จำเป็นต้องได้รับอำนาจ สิทธิ และประโยชน์บางกรณี เช่นเดียวกับที่การ ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยได้รับตามกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และตามกฎหมายอื่น ภายใต้พระราชกฤษฎีกา ในการประกอบธุรกิจปิโตรเลียมของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัทจะมีอำนาจได้รับยกเว้น มีสิทธิพิเศษหรือได้รับความคุ้มครองตามที่กฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยหรือกฎหมายอื่นได้บัญญัติไว้ให้แก่การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เว้นแต่กรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 5 และ 6 ของพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว

พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2546

การเพื่อรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศไม่ให้สูงเกินกว่าที่คณะรัฐมนตรีกำหนด พร้อมทั้งดำเนินการต่างๆ ตามนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารกองทุนพลังงาน ในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ให้สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) มีอำนาจในการดำเนินการใดๆ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือคณะกรรมการสถาบันบริหารกองทุนพลังงานกำหนด ดำเนินการและประสานงานกับส่วนราชการและองค์การต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือมอบหมายให้หน่วยงานอื่นดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง พระราชกฤษฎีกากำหนดให้คณะกรรมการสถาบันบริหารกองทุนพลังงานรับผิดชอบในการบริหารและดำเนินกิจการของสถาบัน โดยคณะกรรมการดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการบริหารสถาบันกำกับดูแลการดำเนินการของสถาบันให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และสอดคล้องกับหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานกำหนด อนุมัติแผนงานและงบประมาณของสถาบัน และออกระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศในเรื่องการบริหารงานทั่วไปของสถาบัน ภายใต้พระราชกฤษฎีกา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลการดำเนินการของสถาบันให้เป็นไปตามกฎหมาย และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง นโยบายของรัฐบาล มติคณะรัฐมนตรี มติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน กฎหมายด้านพลังงาน

ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 28 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58

ประกาศกรมโยธาธิการ เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ และลักษณะโค้งของทางที่จะอนุญาตให้ตั้งสถานีบริการ ประกาศกรมโยธาธิการ เรื่องกำหนดให้ส่วนราชการเป็นผู้ตรวจสอบและออกหนังสือรับรองการปฏิบัติตามข้อ 92 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2529) ออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 28 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2514 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2529 ประกาศกรมโยธาธิการ เรื่องคุณสมบัติและคุณวุฒิของผู้ทดสอบและตรวจสอบถังก๊าซหุงต้ม ถังเก็บและจ่ายก๊าซ ถังขนส่งก๊าซ ระบบท่อก๊าซและอุปกรณ์ และการออกใบรับรองให้เป็นผู้ทดสอบและตรวจสอบ ประกาศกรมโยธาธิการ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีติดตั้งถึงขนส่งก๊าซ ลักษณะและส่วนประกอบภายในถังขนส่งก๊าซ (ฉบับที่ 5)