banner

กพช. เห็นชอบแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยพ.ศ. 2561 – 2580 (PDP 2018)

วันนี้ (วันพุธที่ 24 มกราคม 2562) ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล การประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่ 1/2562(ครั้งที่ 16)ซึ่งมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานได้พิจารณาวาระที่สำคัญด้านพลังงาน ดังนี้

  • แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 (PDP2018)

ที่ประชุม กพช. เห็นชอบแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยพ.ศ. 2561 – 2580 (PDP 2018)ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ โดยการทบทวนสถานการณ์กำลังผลิตไฟฟ้าในปัจจุบัน และได้จัดทำการพยากรณ์ค่าความต้องการใช้ไฟฟ้าระยะยาว 20 ปี ประกอบด้วย ความต้องการใช้ไฟฟ้าของระบบ 3 การไฟฟ้า และความต้องการใช้ไฟฟ้าที่มาจากการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองหรือขายตรง  (Independent Power Supply: IPS) ทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค ได้สะท้อนแนวนโยบายของรัฐบาลและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของแผนปฏิรูปด้านพลังงานและได้รับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนแล้ว มีสาระสำคัญคือ

  • ภาพรวมของกำลังการผลิตไฟฟ้าในช่วง ปี 2561 – 2580

กำลังผลิตไฟฟ้าสิ้นปี 2560   จำนวน  46,090  เมกะวัตต์

กำลังผลิตไฟฟ้าที่ปลดออกจากระบบ ในช่วงปี  2561 – 2580   จำนวน  -25,310  เมกะวัตต์

กำลังผลิตไฟฟ้าใหม่ ในช่วงปี 2561 –2580  จำนวน   56,431 เมกะวัตต์

รวมกำลังผลิตไฟฟ้าทั้งสิ้นถึงปี 2580   จำนวน  77,211  เมกะวัตต์

 

  • สรุปกำลังผลิตไฟฟ้าใหม่ในช่วงปี พ.ศ. 2561 – 2580 แยกตามประเภทโรงไฟฟ้า

ประเภทโรงไฟฟ้า                         กำลังผลิตไฟฟ้าใหม่  (หน่วย: เมกะวัตต์)

โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน                20,766

โรงไฟฟ้าพลังน้ำสูบกลับ                      500

โรงไฟฟ้าระบบโคเจนเนอเรชั่น            2,112

โรงไฟฟ้าความร้อนร่วม                       13,156

โรงไฟฟ้าถ่านหิน/ลิกไนต์                   1,740

รับซื้อจากต่างประเทศ                        5,857

โรงไฟฟ้าใหม่/ทดแทน                      8,300

แผนอนุรักษ์พลังงาน                          4,000

รวมทั้งสิ้น                                         56,431   เมกะวัตต์

  • โรงไฟฟ้าตามนโยบายการส่งเสริมของภาครัฐ ในช่วงปี 2561 – 2580ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าขยะ400เมกะวัตต์โรงไฟฟ้าชีวมวลประชารัฐ120เมกะวัตต์ รวม 520 เมกะวัตต์
  • โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนตามแผน AEDP ประกอบด้วย ชีวมวล3,376เมกะวัตต์ก๊าซชีวภาพ546เมกะวัตต์พลังงานแสงอาทิตย์10,000 เมกะวัตต์พลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ2,725เมกะวัตต์พลังงานลม1,485 เมกะวัตต์ขยะอุตสาหกรรม 44เมกะวัตต์กำลังผลิตไฟฟ้าใหม่ 18,176เมกะวัตต์
  • สัดส่วนการผลิตพลังงานไฟฟ้าแยกตามประเภทเชื้อเพลิงณ ปี 2580 ที่ไม่ได้มาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล มีสัดส่วนร้อยละ 35 คือ พลังน้ำต่างประเทศ (ร้อยละ 9) พลังงานหมุนเวียน (ร้อยละ 20) การอนุรักษ์พลังงาน (ร้อยละ 6)สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินลดลงเหลือร้อยละ12การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)จะสอดคล้องกับข้อตกลงของ COP21ณ ปี 2580 เท่ากับ 283 kgCO2/kWhหรือ 103,845พันตัน
  • ประมาณการค่าไฟฟ้าขายปลีกในช่วงปี 2561 – 2580 อยู่ระหว่าง 3.50-3.63 บาทต่อหน่วยหรือเฉลี่ย 3.58บาทต่อหน่วย
  • ให้ พน. มีการทบทวนใหม่ทุก 5 ปี หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายของแผนอย่างมีนัยสำคัญโดยให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ไปดูแลความมั่นคงของระบบไฟฟ้าการเป็นศูนย์กลางซื้อขายไฟฟ้าในภูมิภาค การเชื่อมโยงกับระบบจำหน่าย เพื่อรองรับพลังงานหมุนเวียนในอนาคต
  • ให้ กบง. พิจารณาแนวทางการจัดหาโรงไฟฟ้าให้เป็นไปตามแผน PDP2018 ในหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับซื้อไฟฟ้า ระยะเวลา พื้นที่ ปริมาณและราคารับซื้อไฟฟ้า เทคโนโลยีและเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า รวมถึงประเด็นอื่นๆโดยคำนึงถึงความมั่นคงของระบบไฟฟ้าภาคตะวันตกและภาคใต้ ความพร้อมและการยอมรับชนิดของเชื้อเพลิงในด้านสิ่งแวดล้อมเป็นต้น
  • มอบ กฟผ. ดำเนินการศึกษาและจัดทำแผนการพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าของประเทศเพื่อเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้า เพิ่มประสิทธิภาพ เป็นศูนย์กลางซื้อขายไฟฟ้า (Grid connection) ในภูมิภาค รวมถึงการเชื่อมโยงกับระบบจำหน่าย เพื่อให้สามารถรองรับการเพิ่มขึ้นของพลังงานหมุนเวียนในอนาคต (Grid Modernization)
  • ให้ กบง. และ กกพ. พิจารณาแนวทางการดำเนินการโครงการพลังงานแสงอาทิตย์โซลาร์ภาคประชาชน ปีละ100 เมกะวัตต์ 10 ปี ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ

ข้อกำหนดพื้นที่ตั้งโครงการโรงไฟฟ้าขยะของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP)

กพช.เห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.)โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) เสนอขอปรับปรุงเงื่อนไขการรับซื้อไฟฟ้าจากขยะชุมชนในรูปแบบ FiT สำหรับ SPP ในสถานที่ที่ตั้งโรงไฟฟ้า เป็นกรรมสิทธิ์ของ อปท. รูปแบบพิเศษหรือเอกชน

แนวทางการดำเนินการกับผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP)ระบบ Cogeneration ที่สิ้นสุดอายุสัญญา

กพช. เห็นชอบการปรับปรุงช่วงเวลาการสิ้นสุดอายุสัญญาของ SPP ระบบ Cogeneration กลุ่มต่ออายุสัญญาให้ครอบคลุม SPP ระบบ Cogeneration เป็นปี 2559 – 2561 เพื่อให้สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของมติ กพช. เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2559ประเภทสัญญา Firm ระบบ Cogeneration จำนวน 25 ราย โดยให้ SPP ระบบ Cogeneration ที่สิ้นสุดอายุสัญญาในปี 2559 -2568 ได้รับการต่ออายุสัญญาหรือก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ โดยให้ใช้เชื้อเพลิงตามสัญญาเดิมและได้รับอัตรารับซื้อไฟฟ้าสอดคล้องกับประเภทเชื้อเพลิง

และมอบ กกพ. พิจารณาต่ออายุสัญญาโรงไฟฟ้าภายใต้หลักการตามมติ กพช. ดังกล่าวสำหรับโรงไฟฟ้าที่กำลังจะสิ้นสุดอายุสัญญาในปี 2562-2564 และไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ได้ทัน เพื่อให้สามารถก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ได้

สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกับรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว

  • กพช. เห็นชอบหลักการคิดอัตราค่าไฟฟ้า และหลักการของสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโครงการน้ำงึม 1 และโครงการเขื่อนเซเสด ฉบับใหม่มีสาระสำคัญหลัก คือ หลักการคิดอัตราค่าไฟฟ้าใหม่ที่เป๊นปัจจุบันมีอายุสัญญา 1 ปี และสามารถต่อสัญญาต่อเนื่อง