banner

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ผลักดันแผนการบริหารจัดการน้ำมันปาล์มด้านพลังงาน

การผลักดันแผนการบริหารจัดการน้ำมันปาล์มด้านพลังงาน

การนำน้ำมันปาล์มดิบเพื่อการผลิตไฟฟ้า

– กฟผ.ใช้น้ำมันปาล์มดิบผลิตไฟฟ้า ณ โรงไฟฟ้าบางปะกงโดยเพิ่มปริมาณการผลิตไฟฟ้าที่ใช้น้ำมันปาล์มจากวันละ 1000 ตัน เป็น วันละ 1500 ตัน ซึ่งส่งผลให้ปริมาณการใช้น้ำมันปาล์มเพิ่มสูงขึ้น และสามารถลดปริมาณสต๊อกน้ำมันปาล์มในระบบได้เร็วขึ้นซึ่งปัจจุบันใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าบางปะกงไปแล้วกว่า 50,000 ตัน และคาดว่าจะสามารถรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบ ตามมติ กนป เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2562 ได้ครบตามเป้า 160,000 ตัน ภายในวันที่
20 เมษายน 2562  และ กฟผ จะใช้น้ำมันปาล์มทั้งหมดในการผลิตไฟฟ้าได้ภายในเดือนปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนมิถุนายนนี้

การส่งออกน้ำมันไบโอดีเซล B100

– ปตท. ได้รับมอบหมาย ให้พิจารณาการรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบ( CPO) จำนวน 100,000 ตัน มาเก็บสต๊อกไว้เพื่อนำมาผลิตเป็น B100 ส่งออก  โดยให้หารือแนวทางการดำเนินการร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ในเรื่องแนวทางการชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการดังกล่าว ซึ่งจะมีการรายงานแนวทางการดำเนินการต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อนำเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี เป็นการต่อไป

นโยบายการส่งเสริมน้ำมันดีเซล B20

          -กรมธุรกิจพลังงาน คาดว่าในเดือนมีนาคมนี้จะมีปริมาณการใช้น้ำมัน B20 ปริมาณ 25 ล้านลิตร โดยตั้งเป้าจะขยายกลุ่มผู้ใช้ไปยังกลุ่มรถยนต์ดีเซลขนาดเล็กให้สามารถใช้น้ำมัน B20 ได้ โดยจะทราบผลการหารือกับผู้จำหน่ายรถยนต์ได้ภายในสัปดาห์หน้า ซึ่งปัจจุบันมีสถานีที่จำหน่ายน้ำมัน B20 จำนวน 116 สถานี และ Fleet ที่ใช้ 173 แห่ง  ในอนาคตกระทรวงพลังงานจะมีการผลักดันให้ใช้ B20 ปริมาณ 15 ล้านลิตร/วัน และ B7 ที่50 ล้านลิตร/วัน ซึ่งจะสามารถดูดซับ CPO ได้ 2 ล้านตัน/ปี