พลังงานก๊าซชีวภาพ
คู่่มือการพัฒนาและการลงทุนผลิตพลังงานทดแทน ชุดที่ 5 “พลังงานก๊าซชีวภาพ”
ประเทศไทยมีน้ำเสียหรือของเหลือใช้จากกระบวนการผลิตในภาคส่วนต่างๆ อาทิ ของเสียและน้ำเสียที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม ฟาร์มปศุสัตว์ แหล่งน้ำเสียจากชุมชน ซึ่งต้องมีการบำบัดให้เป็นไปตามมาตรฐานการควบคุมการ ปล่อยของเสีย /น้ำเสียสู่พื้นที่สาธารณะตามประกาศกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในปริมาณมากพอสมควร และปัจจุบันวิธีการจัดการของเสียและน้ำ
เสียมีอยู่หลายรูปแบบ โดยกระทรวงพลังงานได้ให้ความสนใจในระบบบำบัดน้ำเสียแบบไร้อากาศ (Anaerobic digestion) เนื่องจากเป็นวิธีการบำบัดที่ก่อให้เกิดก๊าซชีวภาพ ที่ประกอบด้วยก๊าซมีเทน (CH4) ร้อยละ 50-70 ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ร้อยละ 30-50
ก๊าซอื่นๆ เช่น แอมโมเนีย (NH3) ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S)และไอน้ำ ซึ่งมีคุณสมบัติสามารถนำ มาใช้เป็นพลังงานทดแทนการนำ เข้าเชื้อเพลิงและช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเรื่องน้ำเสีย กลิ่น และปัญหาโลกร้อนจากภาวะเรือนกระจก รวมถึงผลพลอยได้จากตะกอนปุ๋ยหลังจากการผลิตก๊าซชีวภาพ