ขนาดตัวอักษร - +
ความตัดกันของสี C C C
Sitemap Icon
แผน/ผลการดำเนินงาน
Sitemap Icon
การให้บริการ
Sitemap Icon
ข้อมูลเปิดสาธารณะ
กรุณาระบุคำค้นหาที่ท่านต้องการ

ประวัติกระทรวงพลังงาน

ประวัติกระทรวงพลังงาน

ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาด้านพลังงาน เนื่องจากมีแหล่งพลังงานธรรมชาติ ไม่เพียงพอต่อการผลิต และการบริการของภาคเอกชนและประชาชน โดยต้อง พึ่งพาพลังงานประเภทต่างๆ จากต่างประเทศโดยเฉพาะปิโตรเลียมวันละประมาณ 7 แสนบาเรลหรือร้อยละ 63 ของการจัดหาทรัพยากรปิโตรเลียมของประเทศ ทำให้วิกฤติการณ์ทางด้านพลังงานของโลกมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบการเงิน การคลัง รวมทั้งภาคการผลิตและบริการของเอกชนและภาคประชาชนของประเทศไทย ปัญหาด้านพลังงานจึงเป็นประเด็นสำคัญที่มีผลต่อการแข่งขันของประเทศในเวทีโลก จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมพร้อมทางด้านพลังงาน จัดหาแหล่งพลังงานธรรมชาติเพิ่มขึ้นโดยการประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อน บ้าน และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ประโยชน์จากพลังงานภายในประเทศ รวมทั้งพลังงานทดแทนอย่างจริงจังควบคู่ไปกับการสนับสนุนการแข่งขันของภาคเอกชนในการดำเนินงานธุรกิจพลังงานภายในประเทศโดยควบคุมด้านคุณภาพและความปลอดภัยให้ประชาชนผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุด


อย่างไรก็ตามการจัดโครงสร้างองค์กรด้านพลังงานของประเทศมีความกระจัดกระจาย ความรับผิดชอบอยู่ในหลายๆ กระทรวง ทบวง กรม เป็นองค์กรที่มีหน่วยงานราชการ ซึ่งมีลักษณะควบคุมกำกับดูแลและรัฐวิสาหกิจที่ประกอบการเป็นธุรกิจ เพื่อความมั่นคง หรือเป็นสาธารณูปโภค การที่องค์กรด้านพลังงานของรัฐมีความกระจัดกระจายเช่นนี้ ก็อาจเนื่องมาจากความจำเป็น วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง และภาวะการณ์ ในแต่ละยุคสมัยที่แตกต่างกันไป หน่วยงานบางแห่งก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นสาธารณูปโภคสำหรับยกระดับความเจริญของเมืองและท้องถิ่น เช่น การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จึงถูกกำหนดให้ไปสังกัดกระทรวงมหาดไทย หน่วยงานบางหน่วย ตั้งขึ้นในสมัยที่ไม่มีกระทรวง ทบวง กรมใดดูแลรับผิดชอบเรื่องการผลิตพลังงาน จึงสังกัดอยู่ในสำนักนายกรัฐมนตรี ดังเช่นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย


ความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้หน่วยงานด้านพลังงานที่กระจายกันอยู่เหล่านี้ มีบทบาทสูงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และในบางครั้งการดำเนินงานของหน่วยงานหนึ่ง อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่ออีกหน่วยงานหนึ่ง หากขาดการประสานงานที่ดีและขาดเอกภาพในทางนโยบาย นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 เป็นต้นมา รัฐบาลจึงคำนึงถึงความจำเป็นที่จะประสานนโยบายและกำกับดูแลหน่วยงานที่ กระจัดกระจายเหล่านี้ ให้ดำเนินไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน จึงได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรี จัดตั้งคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ขึ้นมารองรับหน่วยงานนี้อย่างเป็นทางการ โดยให้เป็นหน่วยงานในระดับกรม สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี


คณะกรรมการชุดนี้ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีองค์ประกอบคือ รัฐมนตรีจากระทรวงที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์กระทรวงอุตสาหกรรมกระทรวงคมนาคม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และอธิบดีกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานเป็นกรรมการ มีเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเป็นกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการชุดนี้มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจ และพิจารณานโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวกับพลังงานแทนคณะรัฐมนตรีได้ แล้วมอบให้ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจรับไปปฏิบัติ ดังนั้นการที่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับพลังงาน กระจัดกระจายอยู่ในหน่วยงานกว่า 20 หน่วยงานใน 9 กระทรวงนี้เองทำให้การดำเนินงานที่ผ่านมาขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้บริหาร หน่วยงานแต่ละแห่ง ซึ่งพิจารณาในกรอบอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของตน ดังนั้น จึงมีแนวคิดที่จะรวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังกล่าวเพื่อให้เกิดเอกภาพ ภายในการบริหารจัดการงานด้านพลังงาน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว รัฐบาลจึงได้เกิดแนวความคิดเรื่องการจัดตั้ง “กระทรวงพลังงาน” ตลอดมา แต่ก็ไม่อาจทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรมได้จนกระทั่งในรัฐบาลปัจจุบัน นำโดย ฯพณฯ พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่ได้มีมติเมื่อคราวการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อปรับบทบาท ภารกิจ และโครงสร้างของส่วนราชการ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2544 จัดตั้ง “ทบวงพลังงาน” และต่อมาเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2545 ที่ประชุมร่วมระหว่างนายกรัฐมนตรี กับรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับการบริหารราชการแต่ละกระทรวง ทบวง รวม 5 ท่าน ได้มีมติให้ยกระดับส่วนราชการ
“ทบวงพลังงาน” เป็น “กระทรวงพลังงาน” ซึ่งเป็นกระทรวงขนาดเล็กที่รับผิดชอบภารกิจเร่งด่วน ของรัฐบาล จากความพยายามในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวการจัดตั้งกระทรวงพลังงานจึงมีเงื่อนไขที่ต้องดำเนินการ ดังนี้

- สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
- กอง เชื้อเพลิงธรรมชาติ กองวิเคราะห์ (ฝ่ายวิเคราะห์เชื้อเพลิงธรรมชาติ) กรมทรัพยากรธรณี และกองอุตสาหกรรมน้ำมัน สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
- กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
- กองควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซ กรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย
- สำนักน้ำมันเชื้อเพลิง กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์
- มี การนำรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานไฟฟ้า 1 แห่ง จากสำนักนายกรัฐมนตรี มาสังกัดกระทรวงพลังงาน คือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ส่วนการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ตามมติเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2545 ให้ยังคงสังกัดกระทรวงหมาดไทยไปก่อน แล้วจึงถ่ายโอนมากระทรวงพลังงาน ภายในระยะเวลา 2 ปี
- มี การนำรัฐวิสาหกิจด้านน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ 1 แห่ง จากกระทรวงอุตสาหกรรม ได้แก่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ซี่ง กระทรวงการคลังและ ปตท. เป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ มาสังกัดกระทรวงพลังงานรายละเอียดความเป็นมาในการจัดตั้งกระทรวงพลังงาน 


ลำดับความเป็นมาในการจัดตั้งกระทรวงพลังงาน


28 กันยายน 2544 (การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องมิติใหม่ในการปรับโครงสร้าง และการบริหารงานภาครัฐ ครั้งที่ 1)
มี ความเห็นให้แบ่งงานด้านพลังงาน โดยให้คณะทำงานศึกษาว่า ควรจะจัดตั้งเป็นทบวงพลังงาน หรือให้จัดตั้งเป็นหน่วยงาน ในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ ทั้งนี้หากเป็นทบวง ก็ควรมีบทบาทมากกว่าผู้กำกับดูแลงานด้านพลังงาน โดยอาจรวมงานอื่น เช่น การวิจัยพลังงานทดแทนไว้ด้วย


2 พฤศจิกายน 2544 (การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องมิติใหม่ในการปรับโครงสร้าง และการบริหารงานภาครัฐ ครั้งที่ 2)
ที่ ประชุมเห็นว่าพลังงานเป็นกลุ่มงาน (Cluster) ที่ชัดเจนและมีความสำคัญ หากแยกหน่วยงานมาจัดตั้งเป็นการเฉพาะจะทำให้การบริหารด้านพลังงานของประเทศ มีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงควรจัดตั้งเป็นทบวงพลังงาน มีบทบาทหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและแผนกำกับกิจการพลังงานและพัฒนาส่งเสริม พลังงาน


12 พฤศจิกายน 2544 (การประชุมคณะรัฐมนตรี)
มีมติเห็นชอบการจัดทำโครงสร้างระดับกระทรวงเป็น 17 กระทรวง 1 ทบวง และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ดูแลการจัดรายละเอียดของทบวงพลังงานให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2544


17 ธันวาคม 2544 (การประชุมทีมที่ปรึกษา รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์))
กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านพลังงาน 5 หน่วยงาน


27 ธันวาคม 2544 (การประชุมร่วมกัน ของรองนายกรัฐมนตรี 5 ท่าน)
เห็นชอบโครงสร้างในภาพรวมของหน่วยงานกลุ่มกระทรวงด้านเศรษฐกิจทั้งหมด


9 มกราคม 2545 (การประชุมร่วมกัน ระหว่างนายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี)
ให้จัดโครงสร้างส่วนราชการเป็น 20 กระทรวงโดยจัดตั้งกระทรวงพลังงานเป็นกระทรวงขนาดเล็ก ที่เป็นภารกิจเร่งด่วนของรัฐบาล และมี 1 Cluster (1 ปลัดกระทรวง) ทั้งนี้มีมติให้การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงมหาดไทยไปพรางก่อนแล้ว จึงถ่ายโอนไปกระทรวงพลังงานต่อไป ภายในกรอบเวลา 2 ปี


31 มกราคม 2545 (การประชุมร่วมกัน ระหว่างนายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี 5 ท่าน)
นายกรัฐมนตรี มีบัญชามอบหมายให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม(นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) รับผิดชอบในการจัดทำรายละเอียดโครงสร้างกระทรวงพลังงาน


13 กุมภาพันธ์ 2545 (การประชุมร่วมกัน ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้แทนจากสำนักงาน ก.พ. และผู้ที่เกี่ยวข้อง)
เห็นชอบในหลักการของการแบ่งส่วนราชการกระทรวงพลังงาน ออกเป็น
- สำนักงานรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวง
- สำนักงานบริหารงานกลาง
- สำนักงานนโยบายพลังงาน
- สำนักงานทรัพยากรพลังงาน
- สำนักงานกำกับธุรกิจพลังงาน
- สำนักงานพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน


14 กุมภาพันธ์ 2545
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) มีคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม มอบหมายให้นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน จัดทำรายละเอียดโครงสร้างของกระทรวงพลังงาน


12 มีนาคม 2545
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่…) พ.ศ. … และร่าง พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ที่กำหนดอำนาจหน้าที่และแบ่งส่วนราชการของกระทรวงพลังงาน ออกเป็น
- สำนักงานรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวง
- สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
- กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ
- กรมธุรกิจพลังงาน
- กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน


10 เมษายน 2545
สภาผู้แทนราษฎร มีมติรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่…) พ.ศ. … และร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. … ซึ่งเสนอโดยคณะรัฐมนตรีตามลำดับ และนำเสนอคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา โดยใช้ร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลัก

29 มิถุนายน 2545
สภาผู้แทนราษฎร มีมติรับหลักการ วาระที่ 2 และ 3


4 กรกฎาคม 2545
วุฒิสภา มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่…) พ.ศ. … และร่างพระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. … ซึ่งเสนอโดยสภาผู้แทนราษฎร และนำเสนอคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา


24 กันยายน 2545
วุฒิสภามีมติรับหลักการ วาระที่ 2 และ 3 โดยขอเปลี่ยนชื่อ “กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน” เป็น “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน”


3 ตุลาคม 2545
มีพระบรมราชโองการ ตรา พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวง กรม พ.ศ. 2545 เป็นกฎหมาย "ถือเป็นวันแรกแห่งการก่อตั้ง กระทรวงพลังงาน"

Back-To-Top

faq-question