การหารือทวิภาคีระหว่างที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกับเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรนอร์เวย์ประจําประเทศไทย
เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2568 รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้มอบหมายให้นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารและผู้แทนกระทรวงพลังงาน ได้แก่ สํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้ให้การต้อนรับการขอเข้าเยี่ยมคารวะและการหารือทวิภาคีของนางอัสตริด เอมิเลีย เฮลเล เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรนอร์เวย์ประจําประเทศไทย (H.E. Ms. Astrid Emilie Helle) และคณะ เพื่อแลกเปลี่ยนแนวนโยบายด้านพลังงานและหารือแนวทางการขยายความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างสองประเทศ โดยฝ่ายนอร์เวย์ได้เน้นย้ำความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศที่มีมาอย่างยาวนานกว่า 120 ปี และยินดีที่จะสนับสนุนฝ่ายไทยในการผลักดันกิจกรรม/ โครงการความร่วมมือด้านพลังงานที่มีศักยภาพ ได้แก่ ยานยนต์ไฟฟ้า พลังงานน้ำ พลังงานลม และพลังงาน ลมนอกชายฝั่ง นอกจากนี้ นอร์เวย์ยังเป็นประเทศผู้ผลิตปิโตรเลียมที่มีศักยภาพ ดังนั้นที่ประชุมจึงมีมติเห็นควรให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติหารือในรายละเอียดกับฝ่ายนอร์เวย์ในการผลักดันความร่วมมือในการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม รวมถึงการพัฒนาโครงการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS) นอกจากนี้ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้เชิญชวนนักลงทุนของนอร์เวย์ที่สนใจเข้าร่วมการยื่นขอสิทธิสํารวจและผลิตปิโตรเลียมสําหรับแปลงสํารวจบนบกและในทะเลอันดามันในอนาคตอีกด้วย ทั้งนี้ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของไทยที่จะผลักดันความร่วมมือทวิภาคีด้านพลังงานกับนอร์เวย์ โดยอาจพิจารณาจัดทําแถลงการณ์เจตนารมณ์ร่วมเพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างสองประเทศให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยมอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงานพิจารณาผลักดันความร่วมมือด้านพลังงานกับนอร์เวย์ต่อไป ทั้งนี้ ฝ่ายนอร์เวย์ได้เสนอให้ใช้เวทีการประชุมหารือทวิภาคีไทย - นอร์เวย์ของกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายที่มีอยู่แล้วเพื่อขับเคลื่อน ความร่วมมือด้านพลังงานที่ทั้งสองฝ่ายมีศักยภาพร่วมกันในเบื้องต้น
ในโอกาสนี้ ทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้องที่จะส่งเสริมความร่วมมือภาคเอกชนในด้านการค้าและการลงทุนในสาขาพลังงานและสาขาอื่น ๆ ที่ทั้งสองฝ่ายมีความสนใจ โดยฝ่ายไทยมีความพร้อมให้บริการไฟฟ้าสีเขียว (Utility Green Tariff : UTG) รวมทั้งการซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบการทําสัญญาซื้อขายพลังงานไฟฟ้า ได้โดยตรง (Direct Power Purchase Agreement: Direct PPA) ซึ่งจะเป็นการดึงดูดนักลงทุนในกลุ่มบริษัท RE100รวมทั้งนักลงทุนจากนอร์เวย์ให้เข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการขยายความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างสองประเทศเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมร่วมกันต่อไปในอนาคต